สนามแม่เหล็ก

สนามแม่เหล็ก นั้นอาจเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า หรือในทางกลศาสตร์ควอนตัมนั้น การสปิน(การหมุนรอบตัวเอง) ของอนุภาคต่างๆ ก็ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กเช่นกัน ซึ่งสนามแม่เหล็กที่เกิดจากการ สปิน เป็นที่มาของสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กถาวรต่างๆ
สนามแม่เหล็กคือปริมาณที่บ่งบอกแรงกระทำบนประจุที่กำลังเคลื่อนที่ สนามแม่เหล็กเป็นสนามเวกเตอร์และทิศของสนามแม่เหล็ก ณ ตำแหน่งใดๆ คือทิศที่เข็มของเข็มทิศวางตัวอย่างสมดุล
เรามักจะเขียนแทนสนามแม่เหล็กด้วยสัญลักษณ์  เดิมทีแล้ว สัญลักษณ์  นั้นถูกเรียกว่าความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กหรือความเหนี่ยวนำแม่เหล็ก ในขณะที่  ถูกเรียกว่า สนามแม่เหล็ก(หรือ ความแรงของสนามแม่เหล็ก) และคำเรียกนี้ก็ยังใช้กันติดปากในการแยกปริมาณทั้งสองนี้ เมื่อเราพิจารณาความตอบสนองต่อแม่เหล็กของวัสดุชนิดต่างๆ แต่ในกรณีทั่วไปแล้ว สองปริมาณนี้ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก และเรามักใช้คำแทนปริมาณทั้งสองชนิดว่าสนามแม่เหล็ก
ในระบบหน่วย SI  และ  นั้นมีหน่วยเป็นเทสลา (T) และ แอมแปร์/เมตร (A/m) ตามลำดับ หรือในระบบหน่วย cgs หน่วยของทั้งสองคือ เกาส์ (G) และ oersted (Oe) ตามลำดับ
ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก
เป็นการวัดความเข้มของสนามแม่เหล็กที่จุดๆหนึ่ง  แสดงได้โดย เส้นแรงแม่เหล็กที่อยู่ชิดกัน  โดยปกติความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กมีค่ามากรอบๆขั้ว
Neutal point :   จุดเป็นกลาง
เป็นจุดที่ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กเป็นศูนย์  เกิดจากมีสนามแม่เหล็ก  2  สนามหรือมากกว่า  มีปฏิกิริยาต่อกันและกันด้วยอำนาจที่เท่ากัน  แต่ทิศตรงกันข้าม แท่งแม่เหล็กที่แขวนตามเมริเดียนแม่เหล็ก  โดยที่ขัวใต้  ชี้ทิศเหนือจะมีจุดสะเทิน  2   จุด  ในแนวแกนแม่เหล็ก
iamagnetism:  ไดอะแมกเนติสซึม
เป็นสภาวะแม่เหล็กของสารเมื่อวางไว้ในสนามแม่เหล็กความเข้มสูง  ชิ้นวัตถุชนิดนี้มีแนวโน้มจะขยายเส้นแม่เหล็กให้ห่างออกไปและตัวมันเองจะวางตั้งฉากกับเส้นแรงแม่เหล็ก  ปรากฏการณ์นี้มีสาเหตุมาจากการที่อิเล็กตรอนถูกรบกวน
Paramagnetism :   พาราแมกเนติสซึม
เป็นสภาวะแม่เหล็กของสารเมื่อวางไว้ในสนามแม่เหล็กความเข้มสูง   ชิ้นวัตถุชนิดนี้จะมีแนวโน้มทำให้เส้นแม่เหล็กเข้าใกล้กัน  และตัวมันเองจะวางตัวตามแนวขนานกับเส้นแรงแม่เหล็ก  มีสาเหตุมาจากการเคลื่อนที่ของไดโพล

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ข้อสอบบทที่3

ตารางธาตุ

ข้อสอบบทที่4